รายการบล็อก

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมและการวิเคราะห์งาน

หน่วยที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมและการวิเคราะห์งาน

หัวข้อเรื่อง Topics
1.1ระบบคอมพิวเตอร์
1.2 หลักการเขียนโปรแกรม
แนวคิดสำคัญ Main Idea
     การเขียนโปรแกรม หรือ Programming หมายถึง กระบวนการเขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูล และกำหนดขั้นตอนการแก้ปัญหาเพื่อใช้แก้ปัญหาตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา
     การเขียนโปรแกรมหรือเขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์นี้ โดยทั่วไปแต่ละภาษามีหลักเกณฑ์ในการเขียนและออกแบบโปรแกรมเหมือนกัน
ซึ่งแบ่งการเขียนโปรแกรมออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ
(1) การวิเคราะห์ปัญหา
(2) วางแผนแก้ปัญหา
(3) การเขียนโปรแกรม
(4) ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
(5)การเขียนเอกสารประกอบโปรแกรม
(6) การบำรุงรักษาโปรแกรม โดยรายละเอียดจะกล่าวถึงบทต่อไปนี้
สมรถนะย่อย Element of Competency
แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรม
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรรม Behavioral Objectives
1.บอกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
2.บอกหลักการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง
3.บอกความหมายของการวิเคราะห์ผลลัพธ์ได้ถูกต้อง
4.บอกความหมายของการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าได้ถูกต้อง
5.บอกความหมายของการวิเคราะห์กระบวนการแก้ปัญหาหรือการประมวลผลข้อมูลได้ถูกต้อง
6.บอกความหมายของการวางแผนแก้ปัญหาได้ถูกต้อง
7.บอกลักษณะการเขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
8.บอกความหมายของการทดสอบและแก้ไขโปรแกรมได้ถูกต้อง
9.บอกความหมายของการทำเอกสารประกอบโปรแกรมได้ถูกต้อง
10.บอกความหมายของการบำรุงรักษาโปรแกรมได้ถูกต้อง
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
     ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น 
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
      ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
     ข้อมูล/สารสนเทศ คือ ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล คำนวน หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ
4. บุคลากร (Peopleware) 
     บุคลากร คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตนเองได้
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure)
     เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
     ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นักเขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษาโปรแกรมและระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไรซึ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้คือ
1.ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา 
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจและทำการวิเคราะห์ปัญหาเป็นลำดับแรกเพราะการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบว่าโจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร และการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น ต้องป้อนข้อมูลอะไรบ้างและเมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปแล้วจะทำการประมวลผลอย่างไรสิ่งหล่านี้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเพราะถ้าผู้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้องผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของโจทย์ได้
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
 หลังจากทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาโจทย์จนได้ข้อสรปุว่าโจทย์ต้องการอะไรแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมก็จะทำการกำหนดแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนผังงาน (Flowchart) ซึ่งการเขียนผังงานคือการเขียนแผนภาพที่เป็นลำดับเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจการเขียนผังงานมี 3 แบบคือ แบบเรียงลำดับ(Sequential) แบบมีการกำหนดเงื่อนไข(Condition) และแบบมีการทำงานวนรอบ(Looping) 
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด
เมื่อผู้เขียนโปรแกรมเขียนผังงานเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเขียนโปรแกรมตามผังงาน ที่ได้กำหนดเอาไว้ ในกรณีที่เขียนด้วยภาษาซีการเขียนโปรแกรมก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษาซีเท่านั้น
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง
 หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จแล้วให้ทดลองคอมไพล์โปรแกรมว่ามีจุดผิดพลาดที่ใดบ้าง ในภาษาซีการคอมไพล์ โปรแกรมจะใช้วิธีการกดปุ่ม Alt + F9 ในกรณีที่มีข้อผิดพลาดจะแสดงในช่องด้านล่างของหน้าจอเอดิเตอร์ ในส่วนของกรอบ message ให้อ่านทำความเข้าใจ และแก้ไขตามที่โปรแกรมแจ้งข้อมูลผิดพลาดเมื่อเสร็จแล้วให้ทดลองรันโปรแกรม
5. จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรม
ถ้าหากรันโปรแกรมแล้วใช้งานได้แสดงว่าจะได้ไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น EXE เพื่อนำไปทดสอบงานในที่ต่างๆและถ้านำไปใช้งานแล้วมีปัญหาก็ให้ทำการแก้ไขโปรแกรมอีกครั้งแต่ถ้ารันโปรแกรมแล้วไม่มีปัญหาใดๆ แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์จากนั้นผู้เขียนโปรแกรมก็ต้องจัดทำคู่มือประกอบการใช้งานและนำไปเผยแพร่ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จุดประสงค์รายวิชา

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์รหัสวิชา  2204-200 6 จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้    1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแ...