รายการบล็อก

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 8 การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อประยุกต์ในงานธุรกิจ

หน่วยที่ 8
การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อประยุกต์ในงานธุรกิจ

หัวข้อเรื่อง Topics
8.1  ขั้นตอนการออกเเบบและพัฒนาโปรเเกรม
8.2  ตัวอย่างการออกเเบบและพัฒนาโปรเเกรมงานคำนวณเงินเดือน

เเนวคิดสำคัญ Main idea
        การเขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบที่ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเขียนคำสั่ง ในภาษาโปรเเกรมต่าง ๆ มีบางโปรเเกรมที่พัฒนาขึ้นได้รับความนิยมมีผู้ใช้อย่างเเพร่หลาย บางโปรเเกรมไม่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นเนื่องจากโปรเเกรมนั้น ๆ ใช้งานยากหรือไม่สะดวกต่อการใช้งาน หรือเเก้ไขเปลี่ยนเเปลง บางโปรเเกรมล้มเหลวในการพัฒนาโปรเเกรมไม่สำเร็จตามกำหนดหรือตามเเผนที่วางไว้ เหล่านี้มีสาเหตูมาจากกระบวนการพัฒนาโปรเเกรม ทั้งสิ้น
        ดังนั้นเพื่อให้ได้โปรเเกรมคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการ มีคุณภาพ ควรดำเนินพัฒนาเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรเเกรม การเเก้ไขโปรเเกรมรวมไปถึงการบำรุงรักษาโปรเเกรม จะกล่าวถึงในหน่วยต่อไปนี้

สมรรถนะย่อย Element Competency
ออกเเบบและเขียนโปรเเกรมอย่างง่ายเพื่อประยุกต์ในงานธุรกิจ

หน่วยที่ 8
การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อประยุกต์ในงานธุรกิจ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม Behavioral Objectives
1.  อธิบายขั้นตอนการออกเเบบและพัฒนาโประเเกรมได้ถูกต้อง
2.  ออกเเบบโปรเเกรมขนาดเล็กได้ถูกต้อง
3.  เขียนโปรเเกรมขนาดเล็กตามที่ออกเเบบไว้ได้ถูก

ขั้นตอนการออกเเบบและพัฒนาโปรเเกรม 
      ในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆจำเป็นต้องมีการวางแผน และออกแบบโปรแกรมไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดขั้นตอนวิธีการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งกระบวนการวิเคราะห์ และออกแบบโปรแกรมเรียกว่า วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน System Development Lift Cycle ( SDLC) ซึ่งมีกระบวนการทำงานเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาไปจนถึงการนำโปรแกรมไปใช้งาน และปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดีขึ้น มีขั้นตอนของ วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน ดังต่อไปนี้ 
                
                    ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)               
                    ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
                    ขั้นตอนที่ 3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
                    ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification)
                    ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)
                    ขั้นตอนที่ 6 การใช้งานจริง (Program Implement)
                    ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)
ตัวอย่างการออกเเบบและพัฒนาโปรเเกรมงานคำนวณเงินเดือน
      ภาษาซีเป็นภาษาระดับกลาง ที่เหมาะสมสำหรับการเขียนโปรเเกรมเเบบโครงสร้าง เนื่องจากเป็นภาษาที่มีมีความยืดหยุ่นสูงมาก คือ สามารถใช้งานกับเครื่องต่าง ๆ เเละที่สำคัญในปัจจุบันมีโปรเเกรมรุ่นใหม่ เช่น C++, Perl, Java, C# ที่ใช้หลักการของภาษาซี เป็นพื้นฐานด้วยภาษาซีเป็นภาษาที่นิยมนำมาพัฒนาเป็นโปรเเกรมสำเร็จรูป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จุดประสงค์รายวิชา

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์รหัสวิชา  2204-200 6 จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้    1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแ...