หัวข้อเรื่อง Topics
2.1
ความหมายของผังงาน
2.2
สัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงาน
2.3
หลักการเขียนผังงาน
2.4
รูปแบบการเขียนผังงาน
แนวคิดสำคัญ Main Idea
ผังงาน คือ
การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของรูปแบบสัญลักษณ์
ทำให้สามารถมองเห็นลำดับขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจนกว่าการอธิบายในลักษณะของข้อความ
ผังงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ผังงานระบบ (System
Flowchart) และผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) ผังงานเป็นการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เป็นมาตราฐานสากล รวมทั้งคำอธิบายต่าง
ๆ
แสดงลำดับขั้นตอนของการทำงานของวิธีการประมวลผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด
โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ในผังงาน
รวมถึงความหมายของแต่ละสัญลักษณ์ได้ถูกสร้างและกำหนดขึ้นมาจากหน่วยงาน American
National Standard Institute (ANSI) และ International
Standard Organization (ISO) ซึ่งเนื้อหาในหน่วยนี้กล่าวถึงหลักการเขียนและรูปแบบการเขียนผังงานแบบต่าง
ๆ
สมรรถนะย่อย Element of Competency
1.แสดงความรู้เกี่ยวกับผังงาน
2.เขียนผังงานตามลักษณะงาน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม Behavioral Objectives
1.บอกความหมายของผังงานได้ถูกต้อง
2.บอกสัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงานได้ถูกต้อง
3.บอกหลักการเขียนผังงานได้ถูกต้อง
4.เขียนผังงานแบบลำดับขั้นได้ถูกต้อง
5.เขียนผังงานแบบเลือกทำได้ถูกต้อง
6.เขียนผังงานแบบทำซ้ำได้ถูกต้อง
ผังงาน (Flowchart)
คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol)
ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด
ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน
ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่าการใช้ผังงาน
ผังงาน
เป็นเครื่องมือแสดงขั้นตอน หรือกระบวนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ซึ่งในสัญลักษณ์จะมีข้อความสั้น ๆ อธิบายข้อมูลที่ต้องใช้ ผลลัพธ์
หรือคำสั่งประมวลผลของขั้นตอนนั้น ๆ
และเชื่อมโยงขั้นตอนเหล่านั้นด้วยเส้นที่มีลูกศรชี้ทิศทางการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ
สัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงาน
การเขียนผังงาน(Flowcharting)
ผังงาน หมายถึง
เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมโดยเขียนเป็นเครื่องหมายภาพสัญลักษณ์แสดงลาดับขั้นตอนการทำงาน
การเขียนผังงาน เป็นการถ่ายทอดความเข้าใจที่ได้จากการ
วิเคราะห์งานให้อยู่ในรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ผู้เขียนโปรแกรมจะสามารถเข้าใจลาดับขั้นตอนการเขียน
โปรแกรมได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น และง่ายต่อการ
ตรวจสอบความถูกต้องของลาดับขั้นตอนในวิธีการ ประมวลผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น